ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 ท่านได้ให้บทนิยามคำว่า “แมง” ไว้ว่า “น. สัตว์ขนาดเล็กไม่มีกระดูกสันหลัง ส่วนมากมีลำตัวแบ่งออกเป็นตอน ๆ มีขา 6 ขา ขึ้นไปอยู่ที่ตอนอก มีสองหรือสี่ปีก หรือไม่มีปีกก็ได้ มีหลายชนิด เช่น แมงดา แมงสาบ ฯลฯ ใช้แผลงเป็น แมลง ก็ได้.” แล้วก็มีลูกคำอีก 5 คำ คือ “แมงคาเรือง แมงช้าง แมงดา แมงทับ แมงมุม”
ส่วนคำว่า “แมลง” ท่านบอกว่า “แผลงมาจาก แมง” และได้ให้บทนิยามไว้ว่า “น. สัตว์ขนาดเล็ก ไม่มีกระดูกสันหลัง ส่วนมากมีลำตัวแบ่งออกเป็นตอน ๆ มีขา 6 ขาขึ้นไปอยู่ที่ตอนอก มีสองหรือสี่ปีกหรือไม่มีปีกก็ได้ มีหลายชนิด” ซึ่งก็มีความหมายอย่างเดียวกับคำว่า “แมง” นั่นเอง ทำให้แยกไม่ออกว่า เมื่อใดควรจะใช้ “แมง” เมื่อใดควรจะใช้ “แมลง” และได้เคยมีผู้ทักท้วงว่าบทนิยามนี้ยังไม่ถูกต้อง คงเป็นเพราะเหตุนี้เอง “แมงมุม” จึงกลายเป็น “แมลงมุม” หรือ “แมงป่อง” จึงกลายเป็น “แมลงป่อง” ดังในโคลงสี่สุภาพบทหนึ่ง มีอยู่บาทหนึ่งที่ว่า “พิษน้อยหยิ่งโยโส แมลงป่อง”
ต่อมาในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 จึงได้ปรับปรุงแก้ไขใหม่ ดังนี้
- แมง น. สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ตัวขนาดเล็ก เมื่อเติบโตสมบูรณ์เต็มที่ ร่างกายแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนหัว กับ ส่วนท้อง มีขา 8 ขา ไม่มีหนวด ไม่มีปีก เช่น แมงมุม แมงป่อง, บางทีเรียกเพี้ยนเป็น แมลง.”
- น. สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ตัวขนาดเล็ก เมื่อเติบโตสมบูรณ์เต็มที่ ร่างกายแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง มีขา 6 ขา มีหนวด 1 คู่ มีปีก 1 หรือ 2 คู่ หรืออาจไม่มีก็ได้ เช่น แมลงวัน แมลงสาบ แมลงปอ, บางทีเรียกเพี้ยนเป็น แมง.”
- “แมง” ร่างกายแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนหัว กับ ส่วนท้อง ส่วน “แมลง” ร่างกายแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง
- “แมง” มี 8 ขา “แมลง” มี 6 ขา
- “แมง” ไม่มีหนวด ส่วน “แมลง” มีหนวด 1 คู่
- “แมง” ไม่มีปีก ส่วน “แมลง” อาจมีปีก 1-2 คู่ หรือไม่มีปีกก็ได้.


ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น