วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ที่มา,อ้างอิง

ที่มา,อ้างอิง

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%87

http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%87

ขอขอบคุญข้อมูลจาก
wikipedia และ panyathai นะขอรับ

ชนิดของแมง

ชนิดของแมง

แมงมีพิษ

แมงป่อง
         จากการจำแนกทางชีววิทยา แมงป่องเป็นสัตว์ที่จัดอยู่ในไฟลัม Arthropoda คลาส Scorpionida เป็นสัตว์พิษที่มีมาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ยืนยันได้จากการค้นพบฟอสซิลของแมงป่องที่มีอายุถึง 440 ล้านปี เช่น Archaeobuthus estephani หรือ Protoischnurus axelrodorum เป็นต้น ปัจจุบันทั่วโลกมีแมงป่องประมาณ 1,200 ชนิด (species) อยู่กระจัดกระจายเกือบทั่วไป ไม่ว่าเป็นเขตทะเลทราย (desert) เขตร้อนชื้น (tropic) หรือแม้แต่แถบชายฝั่งทะเล ยกเว้นเพียงเขตขั้วโลกเหนือ (Arctic) และขั้วโลกใต้ (Antarctica) เท่านั้นที่ไม่พบแมงป่อง และพบชนิดที่มีพิษร้ายแรง 50 ชนิด บางชนิดมีพิษรุนแรงมาก เช่น แมงป่องในสกุล Centruroides ที่รัฐอริโซน่า สหรัฐอเมริกา พิษของมันสามารถทำให้เด็กและผู้สูงอายุที่ถูกต่อยเสียชีวิตได้ แมงป่องที่มีพิษรุนแรงสกุลอื่น พบในบราซิล เม็กซิโก และทะเลทรายซาฮาร่า
         ส่วนในประเทศไทย ที่พบบ่อยมากที่สุด คือ แมงป่องในอันดับ Scorpiones (หรือ Scorpionida) วงศ์ Scorpionidae สกุล Heterometrus ได้แก่ H. longimanus และ H. laoticus พบ H. laoticus มากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย แมงป่องในสกุลนี้เป็นแมงป่องที่มีขนาดใหญ่สกุลหนึ่งของโลก ทั้งสองชนิดมีสีดำสนิท ขนาด 9-12 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 10-12 กรัม มีอายุราว 3-5 ปี และจำแนกจากกันได้ยาก จึงเรียกกันทั่วไปว่า Giant scorpion หรือ Asian forest scorpion หรือ Black scorpion หรือ "แมงป่องช้าง" ในภาษาไทย หรือ "แมงเงา" ในภาษาอีสาน นอกจากนี้ยังมีแมงป่องที่อยู่ในวงศ์ Buthidae สกุล Isometrus พบตามบ้านเรือน มักมีสีน้ำตาลอ่อน แล้วมีลายดำหรือน้ำตาลคาด จึงเรียกว่า Striped scorpion ขนาดไม่เกิน 5 เซนติเมตร เรียกทั่วไปว่า"แมงป่อง" หรือ"แมงงอด" ในภาษาอีสาน
         พฤติกรรมส่วนหนึ่งที่ทำให้แมงป่องดูลึกลับ ก็เพราะมันเป็นสัตว์ที่ไม่ชอบแสงสว่าง มักจะหลบซ่อนตัวอยู่ตามสถานที่มืดและชื้น เช่น ใต้ก้อนหิน ใต้กองไม้ ใต้ใบไม้ หรือขุดโพรงหรือรูอยู่ตามป่าละเมาะ และออกหากินในเวลากลางคืน จนบางคนตั้งสมญามันว่า "เพชฌฆาตยามราตรี"

แมงไม่มีพิษ

แมงมุม
         แมงมุมไม่ใช่แมลง แมงมุมมีลักษณะสำคัญอย่างหนึ่ง คือมี 8 ขา (แมลงมี 6 ขา) ในขณะที่แมลงมีลำตัวแบ่งออกเป็น 3 ส่วน (เช่น ส่วนหัว, อก,และท้อง) แมลงมุมมีเพียงสองส่วนเท่านั้น ส่วนหน้าเรียกว่า cephalothorax และส่วนที่เป็นลำตัวประกอบไปด้วยส่วนหัวและส่วนอกเชื่อมติดต่อกัน ส่วนหลังเรียกว่าส่วนท้อง แมงมุมจะไม่มีปีก
         มีแมงมุมหลายชนิดที่มีอยู่ปัจจุบันนี้ สามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 2 กลุ่ม โดยจำแนกตามวิธีการจับหาอาหารของเขา กลุ่มหนึ่งประกอบไปด้วยแมงมุมประเภทล่าที่จะมีการเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ เพื่อค้นหาอาหารของเขา แมลงมุมจะเคลื่อนที่ไปไกล ๆ และใช้เวลามากในการค้นหาอาหารสำหรับพวกเขา แมงมุมอีกกลุ่มหนึ่งจะสร้างตาข่ายเพื่อรอหาอาหารที่จะมาติดกับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแมงมุมชนิดนี้มีความสำคัญกับแมลงมีปีกบิน เช่นตัวเต็มวัยของผีเสื้อกลางคืน
         แมงมุมทั้งสองชนิดคือพวกทำการล่าและพวกที่สร้างตาขายเป็นกับดักเป็นแมงมุมทั่ว ๆ ไปแต่สิ่งที่สำคัญคือเป็นตัวห้ำที่อยู่ใน แปลงพืชผัก และแปลงไม้ผลและมันอยู่ในแปลงนาข้าวอีกด้วย
         ความหนาแน่นของประชากรของแมงมุมขึ้นอยู่กับชนิดของแมลงที่เป็นอาหาร ถ้ามีจำนวนอาหารอยู่มาก แมงมุมเพศเมียจะวางไข่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นเมื่อจำนวนแมลงศัตรูพืชมีจำนวนเพิ่มขึ้น จำนวนของแมงมุมก็จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน และยังมีขนาดใหญ่ขึ้นด้วย
         จำนวนไข่ของแมงมุมจะวางไข่ในจำนวนแตกต่างกันออกไปคือจาก 2-3 ฟองจนถึงจำนวนหลายร้อยฟอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของแมงมุม แมงมุมบางชนิดจะนำไข่ไปเก็บไว้ในถุงเล็ก ๆ จนกระทั่งมันฟักตัวจากไข่ออกมาเป็นตัวเล็ก ๆ (เช่นแมงมุมหมาป่า Lycosidae) เพื่อเป็นการ์ดดูแลไข่ที่วางอยู่ (ตัวอย่างเช่น Lynx spider)หรือทำการวางไข่ในรังตาข่าย หรือวางไข่ไว้บนใบไม้ และปิดไว้ด้วยใยไหมบาง ๆ แมงมุมอาจจะอาศัยอยู่นานถึง 4 เดือนทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของแมงมุม

ความหมายของแมงและแมลง

ความหมายของแมงและแมลง
         ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 ท่านได้ให้บทนิยามคำว่า “แมง” ไว้ว่า “น. สัตว์ขนาดเล็กไม่มีกระดูกสันหลัง ส่วนมากมีลำตัวแบ่งออกเป็นตอน ๆ มีขา 6 ขา ขึ้นไปอยู่ที่ตอนอก มีสองหรือสี่ปีก หรือไม่มีปีกก็ได้ มีหลายชนิด เช่น แมงดา แมงสาบ ฯลฯ ใช้แผลงเป็น แมลง ก็ได้.” แล้วก็มีลูกคำอีก 5 คำ คือ “แมงคาเรือง แมงช้าง แมงดา แมงทับ แมงมุม”
         ส่วนคำว่า “แมลง” ท่านบอกว่า “แผลงมาจาก แมง” และได้ให้บทนิยามไว้ว่า “น. สัตว์ขนาดเล็ก ไม่มีกระดูกสันหลัง ส่วนมากมีลำตัวแบ่งออกเป็นตอน ๆ มีขา 6 ขาขึ้นไปอยู่ที่ตอนอก มีสองหรือสี่ปีกหรือไม่มีปีกก็ได้ มีหลายชนิด” ซึ่งก็มีความหมายอย่างเดียวกับคำว่า “แมง” นั่นเอง ทำให้แยกไม่ออกว่า เมื่อใดควรจะใช้ “แมง” เมื่อใดควรจะใช้ “แมลง” และได้เคยมีผู้ทักท้วงว่าบทนิยามนี้ยังไม่ถูกต้อง คงเป็นเพราะเหตุนี้เอง “แมงมุม” จึงกลายเป็น “แมลงมุม” หรือ “แมงป่อง” จึงกลายเป็น “แมลงป่อง” ดังในโคลงสี่สุภาพบทหนึ่ง มีอยู่บาทหนึ่งที่ว่า “พิษน้อยหยิ่งโยโส แมลงป่อง”
          ต่อมาในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 จึงได้ปรับปรุงแก้ไขใหม่ ดังนี้
  • แมง น. สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ตัวขนาดเล็ก เมื่อเติบโตสมบูรณ์เต็มที่ ร่างกายแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนหัว กับ ส่วนท้อง มีขา 8 ขา ไม่มีหนวด ไม่มีปีก เช่น แมงมุม แมงป่อง, บางทีเรียกเพี้ยนเป็น แมลง.”
         ส่วนคำว่า “แมลง” ท่านให้บทนิยามไว้ดังนี้
  • น. สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ตัวขนาดเล็ก เมื่อเติบโตสมบูรณ์เต็มที่ ร่างกายแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง มีขา 6 ขา มีหนวด 1 คู่ มีปีก 1 หรือ 2 คู่ หรืออาจไม่มีก็ได้ เช่น แมลงวัน แมลงสาบ แมลงปอ, บางทีเรียกเพี้ยนเป็น แมง.”
         ส่วนที่น่าสังเกตก็คือว่า “แมง” กับ “แมลง” นั้น ต่างก็เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ตัวขนาดเล็กเช่นกัน แต่ที่นับว่าแตกต่างกัน คือ
  • “แมง” ร่างกายแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนหัว กับ ส่วนท้อง ส่วน “แมลง” ร่างกายแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง
  • “แมง” มี 8 ขา “แมลง” มี 6 ขา
  • “แมง” ไม่มีหนวด ส่วน “แมลง” มีหนวด 1 คู่
  • “แมง” ไม่มีปีก ส่วน “แมลง” อาจมีปีก 1-2 คู่ หรือไม่มีปีกก็ได้.
         หลายครั้งที่เราสับสนเรียกชื่อแมลงบางตัวเป็นแมง ทั้งที่ความจริงเป็นแมลง ลักษณะของแมลง (Insects) ต่างจากสัตว์จำพวก อราคนิต (Arachnids) ซึ่งบางตัวเรียกภาษาไทยว่า "แมง" (แมงมุม แมงป่อง) คือ

ภาพ:Durian_leaf_with_spider_3.jpg ภาพ:Scorpions_03.jpg

เปรียบเทียบแมง กับ แมลง

เปรียบเทียบแมง กับ แมลง
         คำในภาษาไทยที่เรามักใช้ปน ๆ กันอยู่ จนบางทีก็แทบจะแยกไม่ออกว่าต่างกันอย่างไร ก็คือคำว่า “แมง” กับ “แมลง” โดยเฉพาะภาษาพูดเรามักใช้แทนกันได้ เช่น “แมลงวัน” กับ “แมงวัน” “แมลงหวี่” กับ “แมงหวี่” “แมลงปอ” กับ “แมงปอ” ฯลฯ ซึ่งตามปรกติคำว่า “แมลง” เรามักพูดเป็น “แมง” ได้เสมอไป แต่คำว่า “แมง” ท่านไม่นิยมให้ใช้ “แมลง” แทน เช่น แมงดาทะเล ไม่ควรเรียกว่า “แมลงดาทะเล” หรือ “แมงคาเรือง” ก็ไม่ควรเรียกว่า “แมลงคาเรือง” ในเรื่องนี้ท่านมีหลักเกณฑ์อย่างไรนั้น เป็นเรื่องที่เราควรจะได้กำหนดไว้ให้ดี

แมง

แมง
ภาพ:แมง.jpg




















แมง (อังกฤษ: arachnid) เป็นชื่อเรียกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในกลุ่มของสัตว์ขาปล้อง ชื่อในภาษาอังกฤษมีรากศัพท์มาจากสตรีนามว่าอะแรกนีในเทพปกรณัมกรีก ร่างกายของแมงเมื่อโตเต็มที่แบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ หัวกับอกรวมกันเป็นส่วนหนึ่งและท้องอีกส่วนหนึ่ง การแยกแยะระหว่างแมงกับแมลง คือ แมงมี 8 หรือ 10 ขา ส่วนแมลงมี 6 ขา นอกจากนี้แมงยังไม่มีหนวดและปีกอีกด้วยซึ่งต่างจากแมลงที่มีหนวดและส่วนใหญ่มีปีก แมงมีความยาวของลำตัวตั้งแต่ 0.08 มิลลิเมตร ถึง 21 เซนติเมตร ตัวอย่างของสัตว์ประเภทแมง ได้แก่ แมงมุม แมงป่อง แมงดาทะเล เห็บ และไร เป็นต้น

แมลงอนุรักษ์

แมลงอนุรักษ์
ความสามารถในการปรับตัวได้ดี สามารถดำรงเผ่าพันธุ์ได้ดีของสิ่งมีชีวิตในอันดับ Insecta หรือ Hexapoda ทำให้สิ่งมีชีวิตในกลุ่มของแมลงมีความหลากหลาย จำนวนชนิดมากกว่าในอันดับอื่นๆ และมีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 1 ของโลก แต่ความหลากหลายนั้นก็ทำให้แมลงบางชนิดสูญพันธุ์ หรือใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะหลายสาเหตุด้วยกัน จากความจำเพาะเจาะจงของพืชอาหารของแมลงชนิดนั้นลดน้อยหรือไม่มีในสภาพธรรมชาติ เนื่องจากความเสื่อมโทรมของป่าไม้ เช่น ผีเสื้อถุงทองที่มีพืชอาหารในระยะหนอนจากการกินกระเช้าสีดา อีกทั้งยังมีการลักลอบจับเป็นการค้า โดยเฉพาะแมลงที่มีความสวยงาม ได้แก่ กลุ่มผีเสื้อ และ กลุ่มด้วง

ชนิดแมลงอนุรักษ์ในประเทศไทย

  • แมลงที่มีการจับเพื่อการค้าสูง ซึ่งมีลักษณะสวยงาม ได้แก่ แมลงกลุ่มผีเสื้อ และแมลงกลุ่มด้วง ซึ่งผีเสื้อมีสีสรรสวยงาม ส่วนด้วงมีเขาสวยงาม
  • แมลงที่หายาก ซึ่งดูจากพิพิธภัณฑ์แมลง ของกรมวิชาการเกษตร ที่เคยพบเมื่อ 30-40 ปีที่แล้ว ต่อมาปัจจุบันไม่พบอีกเลย หรือพบน้อยมาก อันเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
  • บัญชีรายชื่อในอนุสัญญา CITES (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora) หรืออนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการค้าซึ่งพืชป่า และสัตว์ป่าที่กำลังใกล้สูญพันธุ์ ในบัญชีหมายเลข 2 ของอนุสัญญานี้ที่มีรายชื่อแมลงที่พบในประเทศไทยด้วย จำนวน 3 รายการ คือ ผีเสื้อถุงทอง ผีเสื้อไกเซอร์ และผีเสื้อภูฐาน ดังนั้นในการกำหนดชนิดแมลงอนุรักษ์จึงได้กำหนดแมลงทั้ง 3 รายการนี้เข้าไปด้วย

รายชื่อแมลงอนุรักษ์ในประเทศไทย

แมลงกลุ่มผีเสื้อ
ผีเสื้อถุงทอง แมลงอนุรักษ์ ในบัญชีหมายเลข 2 ของอนุสัญญา CITES
  • ผีเสื้อหางยาวตาเคียวปีกลายหยัก Actias maenas Doubleday
  • ผีเสื้อหางยาวสี่ตาปีกลายหยัก Actias sinensis heterogyna Mell
  • ผีเสื้อหางยาวตาเคียวปีกลายตรง Actias rhodopneuma Rober
  • ผีเสื้อกลางคืนหางยาว Actias spp. ในประเทศไทยพบผีเสื้อกลางคืน (Moth) ชนิดนี้ 4 ชนิด ผีเสื้อหางยาวตาเคียวปีกลายตรง Actias maenas Doubleday,ผีเสื้อหางยาวตาเคียวปีกลายหยัก A. Rhodopneuma Rober,ผีเสื้อหางยาวสี่ตาปีกลายตรง A. selene Hubner และผีเสื้อหางยาวสี่ตาปีกลายหยัก A. Senensis heterogyna Mell
  • ผีเสื้อหางยาวสี่ตาปีกลายตรง Actias selene Hubner
  • ผีเสื้อภูฐานหรือผีเสื้อเชียงดาว Bhutanitis spp. กำหนดไว้ในบัญชีหมายเลข 2 ของอนุสัญญา CITES ในประเทศไทยพบเฉพาะBhutanitis lidderdalei Atkinson
  • ผีเสื้อรักแร้ขาว Papilio protener euprotener Fruhstorfer
  • ผีเสื้อกลางคืนค้างคาว Lyssa zampa Butler
  • ผีเสื้อหางติ่งสะพายเขียว Papilio palinurus Fabricius
  • ผีเสื้อไกเซอร์ Teinoppalpus spp. เป็นแมลงอนุรักษ์ ที่กำหนดไว้ในบัญชี หมายเลข 2 ของอนุสัญญา CITES ในประเทศไทยมีชนิดเดียว คือ ผีเสื้อไกเซอร์ Teinoppalpus imperialisimperatrix de' Niceville
  • ผีเสื้อนางพญา Stichophthalma spp. เป็นผีเสื้อกลางวัน (Butterfly) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ซึ่งในประเทศไทยพบ 3 ชนิด คือ
ผีเสื้อนางพญาพม่า Stichophthalma louisa Wood-Mason พบได้ที่ภาคเหนือของประเทศไทย ผีเสื้อนางพญาเขมร S. cambodia Hewitแมลงอนุรักษ์
ความสามารถในการปรับตัวได้ดี สามารถดำรงเผ่าพันธุ์ได้ดีของสิ่งมีชีวิตในอันดับ Insecta หรือ Hexapoda ทำให้สิ่งมีชีวิตในกลุ่มของแมลงมีความหลากหลาย จำนวนชนิดมากกว่าในอันดับอื่นๆ และมีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 1 ของโลก แต่ความหลากหลายนั้นก็ทำให้แมลงบางชนิดสูญพันธุ์ หรือใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะหลายสาเหตุด้วยกัน จากความจำเพาะเจาะจงของพืชอาหารของแมลงชนิดนั้นลดน้อยหรือไม่มีในสภาพธรรมชาติ เนื่องจากความเสื่อมโทรมของป่าไม้ เช่น ผีเสื้อถุงทองที่มีพืชอาหารในระยะหนอนจากการกินกระเช้าสีดา อีกทั้งยังมีการลักลอบจับเป็นการค้า โดยเฉพาะแมลงที่มีความสวยงาม ได้แก่ กลุ่มผีเสื้อ และ กลุ่มด้วง

ชนิดแมลงอนุรักษ์ในประเทศไทย

  • แมลงที่มีการจับเพื่อการค้าสูง ซึ่งมีลักษณะสวยงาม ได้แก่ แมลงกลุ่มผีเสื้อ และแมลงกลุ่มด้วง ซึ่งผีเสื้อมีสีสรรสวยงาม ส่วนด้วงมีเขาสวยงาม
  • แมลงที่หายาก ซึ่งดูจากพิพิธภัณฑ์แมลง ของกรมวิชาการเกษตร ที่เคยพบเมื่อ 30-40 ปีที่แล้ว ต่อมาปัจจุบันไม่พบอีกเลย หรือพบน้อยมาก อันเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
  • บัญชีรายชื่อในอนุสัญญา CITES (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora) หรืออนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการค้าซึ่งพืชป่า และสัตว์ป่าที่กำลังใกล้สูญพันธุ์ ในบัญชีหมายเลข 2 ของอนุสัญญานี้ที่มีรายชื่อแมลงที่พบในประเทศไทยด้วย จำนวน 3 รายการ คือ ผีเสื้อถุงทอง ผีเสื้อไกเซอร์ และผีเสื้อภูฐาน ดังนั้นในการกำหนดชนิดแมลงอนุรักษ์จึงได้กำหนดแมลงทั้ง 3 รายการนี้เข้าไปด้วย

 รายชื่อแมลงอนุรักษ์ในประเทศไทย

แมลงกลุ่มผีเสื้อ
ผีเสื้อถุงทอง แมลงอนุรักษ์ ในบัญชีหมายเลข 2 ของอนุสัญญา CITES
  • ผีเสื้อหางยาวตาเคียวปีกลายหยัก Actias maenas Doubleday
  • ผีเสื้อหางยาวสี่ตาปีกลายหยัก Actias sinensis heterogyna Mell
  • ผีเสื้อหางยาวตาเคียวปีกลายตรง Actias rhodopneuma Rober
  • ผีเสื้อกลางคืนหางยาว Actias spp. ในประเทศไทยพบผีเสื้อกลางคืน (Moth) ชนิดนี้ 4 ชนิด ผีเสื้อหางยาวตาเคียวปีกลายตรง Actias maenas Doubleday,ผีเสื้อหางยาวตาเคียวปีกลายหยัก A. Rhodopneuma Rober,ผีเสื้อหางยาวสี่ตาปีกลายตรง A. selene Hubner และผีเสื้อหางยาวสี่ตาปีกลายหยัก A. Senensis heterogyna Mell
  • ผีเสื้อหางยาวสี่ตาปีกลายตรง Actias selene Hubner
  • ผีเสื้อภูฐานหรือผีเสื้อเชียงดาว Bhutanitis spp. กำหนดไว้ในบัญชีหมายเลข 2 ของอนุสัญญา CITES ในประเทศไทยพบเฉพาะBhutanitis lidderdalei Atkinson
  • ผีเสื้อรักแร้ขาว Papilio protener euprotener Fruhstorfer
  • ผีเสื้อกลางคืนค้างคาว Lyssa zampa Butler
  • ผีเสื้อหางติ่งสะพายเขียว Papilio palinurus Fabricius
  • ผีเสื้อไกเซอร์ Teinoppalpus spp. เป็นแมลงอนุรักษ์ ที่กำหนดไว้ในบัญชี หมายเลข 2 ของอนุสัญญา CITES ในประเทศไทยมีชนิดเดียว คือ ผีเสื้อไกเซอร์ Teinoppalpus imperialisimperatrix de' Niceville
  • ผีเสื้อนางพญา Stichophthalma spp. เป็นผีเสื้อกลางวัน (Butterfly) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ซึ่งในประเทศไทยพบ 3 ชนิด คือ
ผีเสื้อนางพญาพม่า Stichophthalma louisa Wood-Mason พบได้ที่ภาคเหนือของประเทศไทย ผีเสื้อนางพญาเขมร S. cambodia Hewitson พบได้ที่ภาคตะวันออกของประเทศ และผีเสื้อนางพญากอดเฟรย์ S. Godfreyi Rothschild พบได้ที่ภาคใต้ของประเทศไทย
  • ผีเสื้อถุงทอง Trodes spp. เป็นแมลงอนุรักษ์ ที่กำหนดไว้ในบัญชีหมายเลข 2 ของอนุสัญญา CITES ในประเทศไทยที่พบแล้วมีอยู่หลายชนิด ได้แก่ ผีเสื้อถุงทองป่าสูง Trodes helena Linnaeus, ผีเสื้อถุงทองปักษ์ใต้ T. amphrysus Cramer
ผีเสื้อถุงทองธรรมดา T. aeacus Felder
  • ผีเสื้อหางดาบตาลไหม้ Meandrusa sciron Leech
แมลงกลุ่มด้วง
  • ด้วงกว่างดาว Cheirotonus parryi Gray, วงศ์ Scarabaeidae เป็นด้วงขนาดใหญ่ ตัวผู้มีขาหน้ายาวสวยงาม ตัวเมียขาหน้าสั้น ด้วงชนิดนี้พบทางภาคเหนือและภาคตะวันออก
  • ด้วงคีมยีราฟ Chadagnathus giraffa Fabricus, วงศ์ Lucanidae พบที่ภาคเหนือและภาคตะวันออก ด้วงคีมหรือด้วงเขี้ยวกางในประเทศไทยมีหลายชนิดและมีรูปร่างแปลกสวยงามจึงมี การล่าจับกันมาก
  • ด้วงดินขอบทองแดง Mouhotia batesi Lewis , วงศ์ Carabidae ด้วงดินที่มีขนาดใหญ่ ตัวสีดำ แต่ขอบบริเวณส่วนอกมีเหลือบเป็นสีทองแดง พบที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ด้วงดินปีกแผ่น Mormolyce phyllodes Hegenb, วงศ์ Carabidae ด้วงดินที่มีปีกหน้าแบนบางเป็นแผ่นทำให้ดูสวยและแปลก เป็นแมลงที่หายาก พบเฉพาะภาคใต้
son พบได้ที่ภาคตะวันออกของประเทศ และผีเสื้อนางพญากอดเฟรย์ S. Godfreyi Rothschild พบได้ที่ภาคใต้ของประเทศไทย
  • ผีเสื้อถุงทอง Trodes spp. เป็นแมลงอนุรักษ์ ที่กำหนดไว้ในบัญชีหมายเลข 2 ของอนุสัญญา CITES ในประเทศไทยที่พบแล้วมีอยู่หลายชนิด ได้แก่ ผีเสื้อถุงทองป่าสูง Trodes helena Linnaeus, ผีเสื้อถุงทองปักษ์ใต้ T. amphrysus Cramer
ผีเสื้อถุงทองธรรมดา T. aeacus Felder
  • ผีเสื้อหางดาบตาลไหม้ Meandrusa sciron Leech
แมลงกลุ่มด้วง
  • ด้วงกว่างดาว Cheirotonus parryi Gray, วงศ์ Scarabaeidae เป็นด้วงขนาดใหญ่ ตัวผู้มีขาหน้ายาวสวยงาม ตัวเมียขาหน้าสั้น ด้วงชนิดนี้พบทางภาคเหนือและภาคตะวันออก
  • ด้วงคีมยีราฟ Chadagnathus giraffa Fabricus, วงศ์ Lucanidae พบที่ภาคเหนือและภาคตะวันออก ด้วงคีมหรือด้วงเขี้ยวกางในประเทศไทยมีหลายชนิดและมีรูปร่างแปลกสวยงามจึงมี การล่าจับกันมาก
  • ด้วงดินขอบทองแดง Mouhotia batesi Lewis , วงศ์ Carabidae ด้วงดินที่มีขนาดใหญ่ ตัวสีดำ แต่ขอบบริเวณส่วนอกมีเหลือบเป็นสีทองแดง พบที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ด้วงดินปีกแผ่น Mormolyce phyllodes Hegenb, วงศ์ Carabidae ด้วงดินที่มีปีกหน้าแบนบางเป็นแผ่นทำให้ดูสวยและแปลก เป็นแมลงที่หายาก พบเฉพาะภาคใต้

พฤติกรรม

พฤติกรรม
แมลงชอบเข้าหาแสงสว่างในฤดูร้อน
แมลงหลายชนิดมีอวัยวะรับรู้สัมผัสที่ดีมาก บางครั้งอาจมีประสิทธิภาพมากกว่าประสาทสัมผัสของมนุษย์ ตัวอย่างเช่น ผึ้งสามารถเห็นแสงสีในสเปกตรัมของรังสีอุลตร้าไวโอเล็ต และผีเสื้อกลางคืนตัวผู้มีระบบประสาทรับกลิ่นที่สามารถรับกลิ่นของฟีโรโมนจากตัวเมียได้เป็นระยะทางหลายกิโลเมตร
แมลงสังคมอย่างมดและผึ้ง เป็นตัวอย่างที่พบเห็นได้ง่ายที่สุดของสัตว์สังคม พวกมันอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่โดยแบ่งหน้าที่การงานกันอย่างเป็นระบบและเรียบร้อย บางครั้งอาณาจักรเช่นนี้อาจเรียกได้ว่าเป็น superorganism ในภาษาไทยอาจเรียกได้ว่าแมลงวรรณะ